วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ข้อสอบปลายภาค


คำสั่งข้อสอบมีทั้งหมด 7  ข้อ ให้นักศึกษาทำทุกข้อ ห้ามลอกกันเขียนคำตอบโดยใช้สำนวนเหมือนกันถือว่ามิใช่ความคิดของนักศึกษาเอง ปรับให้ตกทั้งคู่ ข้อละ 10 คะแนน

1. กฎหมายทั่วไปกับกฎหมายการศึกษา มีที่มาความเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร อธิบายพร้อมทั้ง  ยกตัวอย่างประกอบอย่างย่อ ๆ ให้ได้ใจความพอเข้าใจ.
ตอบ      มีที่มาเหมือนกัน เพราะว่ากฎหมายทั่วไปกับกฎหมายการศึกษา มาจากเป็นกฎหมายเหมือนกัน คำว่า กฎหมาย นั้นหมายความว่า กฎ หรือข้อตกลงของการอยู่รวมกัน การที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมให้มีความสงบสุขกันทุกคนนั้น จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ ข้อตกลง หรือกฎหมาย ยึดถือประพฤติปฏิบัติกัน ซึ่งกฎหมายทั่วไปก็มีข้อตกลง หรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับเรื่องทั่วไป ส่วนกฎหมายการศึกษา ก็จะเป็นเกี่ยวกับระเบียบ ข้อตกลง กฎเกณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

2. รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการศึกษา มีสาระหลักที่สำคัญอย่างไร ในประเด็นอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ยกตัวอย่างประกอบ พอเข้าใจ (รัฐธรรมนูญตั้งแต่แต่ฉบับแรกถึงปัจจุบัน พ.ศ.2550)
ตอบ      รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475  มีสาระหลักที่สำคัญ คือ ได้มีกำหนดสิทธิและเสรีภาพ
การพูด การเขียน การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ
            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 -2517  มีสาระหลักที่สำคัญ คือ
1. สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ในการศึกษาอบรม สถานศึกษาของรัฐและเทศบาลให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการศึกษาอบรม ตามความสามารถของบุคคล
2. หน้าที่ของชนชาวไทย บุคคลย่อมได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษาหรือการศึกษาขั้นมูลฐาน ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
3. กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐ จัดการศึกษาเพื่อพลเมืองดีมีร่างกายแข็งแรงอานามัยสมบูรณ์ มีความรู้ประกอบอาชีพและมีจิตใจเป็นประชาธิปไตย
4. ส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมการจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐการศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา ดำเนินได้ตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด
3. กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐ จัดการศึกษาเพื่อพลเมืองดีมีร่างกายแข็งแรงอานามัย
5. การจัดอบรมชั้นประถมศึกษาของรัฐและเทศบาล โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521-2534  มีสาระหลักที่สำคัญ คือ
1. บุคคลย่อมมีเสรีภาพและมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาอบรม ไม่เป็นต่อปรปักษ์ และขัดต่อกฎหมายการศึกษา
2. เสรีภาพในวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครองที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมือง
3.รัฐพึงกำหนดและบำรุงการศึกษาอบรม ระบบการศึกษา อบรมเป็นหน้าที่ของรัฐและสถานศึกษาทั้งปวงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ
4.การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐกำหนดให้สถานศึกษาดำเนินการตามกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด
5. การศึกษาภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐและท้องถิ่น จัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน
 6. รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆ ในการศึกษาอบรมและการฝึกอาชีพ
 7. รัฐสนับสนุนการวิจัยศิลปะและวิทยาการต่าง ๆ และส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์
 8. รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมเยาวชนของชาติให้เป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย
 และเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศจิตใจ และสติปัญญาคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเพื่อความมั่นคงของรัฐ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521-2534  มีสาระหลักที่สำคัญ คือ
1. สิทธิและเสรีภาพในเชิงวิชาการ การเรียนการสอนการวิจัยได้รับการคุ้มครอง
2. รัฐจัดการศึกษาให้กับ บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า12 ปี และจะต้องจัดอย่างทั่วถึงอย่างมีคุณภาพ ไม่เก็บค่าใช้จ่ายและการศึกษาอบรมขององค์กร
3. รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่น ของครอบครัวและความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้  ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส
 4. รัฐจะต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชน จัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมและจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ
5. รัฐส่งเสริมสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ชุมชนองค์กรต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมกัน
6. ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ปลูกจิตสำนึก และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญา
ท้องถิ่น

3. พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ มีกี่มาตรา และมีความสำคัญอย่างไร และประเด็นหรือมาตราใดที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและต้องยึดถือปฏิบัติ 
ตอบ        พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ มี 20 มาตรา มีความสำคัญว่า  การศึกษาภาคบังคับ เป็นการศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ชั้น ป.1 ถึง ม.3)โดยคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะประกาศรายละเอียดและจัดสรรเกี่ยวกับการส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา ซึ่งจะมีการปิดประกาศไว้ที่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา รวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ปกครองของเด็กทราบไม่น้อยกว่าหนึ่งปี การที่ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา เด็กต้องมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด (**การนับอายุเด็ก ให้นับตามปีปฏิทิน) ซึ่งผู้ปกครองสามารถร้องขอผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้ และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด  หากผู้ใดไม่ใช่ผู้ปกครอง มีเด็กซึ่งไม่ได้เข้าเรียนในสถานศึกษาอาศัยอยู่ด้วย ต้องแจ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ภายในหนึ่งเดือนนับตั้งแต่วันที่เด็กมาอาศัยอยู่ด้วย เว้นแต่ว่าผู้ปกครองได้มาอาศัยอยู่ด้วย ในกรณีที่ผู้ปกครองไม่ส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา จะต้องมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท  ประเด็นหรือมาตราที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและต้องยึดถือคือมาตรา 6 ให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา

4. ท่านเข้าใจว่า หากมีใครเข้ามาปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่เปิดการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีสอนทั้งปีที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูนั้น สามารถมาปฏิบัติการสอนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้มีความผิดหรือบทกำหนดโทษอย่างไร  ถ้าได้จะต้องกระทำอย่างไรมิให้ผิด ตามพระราชบัญญัตินี้
ตอบ     ไม่สามารถปฏิบัติการสอนได้ จะมีบทกำหนดโทษคือต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

5. สมบัติ เป็นครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้ประพฤติผิดกระทำทารุณกรรมต่อเด็กหรือเยาวชน หากเราพิจารณาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546  จะต้องทำอย่างไร และมีบทลงโทษอย่างไร
ตอบ        เมื่อมีการกระทำทารุณกรรมต่อเด็กให้รีบแจ้งหรือรายงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ตาม ได้รับแจ้งเหตุ หรือเป็นผู้พบเห็นหรือประสบพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่า มีการกระทำทารุณกรรมต่อเด็กในสถานที่ใด ให้มีอำนาจเข้าตรวจค้นและมีอำนาจแยกตัวเด็ก จากครอบครัวของเด็กเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กโดยเร็วที่สุด  การดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ต้องรีบจัดให้มีการตรวจรักษาทางร่างกายและจิตใจทันที ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรต้องสืบเสาะและพินิจเกี่ยวกับเด็กและครอบครัวเพื่อหาวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมแก่เด็ก ก็อาจส่งตัวเด็กไปสถานแรกรับก่อนได้ หรือถ้าจำเป็นต้องให้การสงเคราะห์ก็ให้พิจารณาให้การสงเคราะห์ และถ้าจำเป็นต้องให้การฟื้นฟูสภาพจิตใจก็ให้รีบส่งเด็กไปยังสถานพัฒนาและฟื้นฟู  ส่วนครูสมบัติมีบทลงโทษ  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

6. ช่วงที่นักศึกษาไปทดลองสอนที่โรงเรียนเทอม 2  และในเทอมต่อไป นักศึกษาเข้าไปทดลองสอนจริง นักศึกษาคิดว่าจะนำกฎหมายการศึกษาไปใช้โดยกำหนดคนละ 2 ประเด็นที่คิดว่าจะนำกฎหมาย   ไปใช้ได้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ        ประเด็นที่ 1 เกี่ยวกับ การลงโทษนักเรียน ตัวอย่างเช่น ในการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา เมื่อนักเรียนกระทำความผิด เราเป็นครู จะลงโทษนักเรียนแบบรุนแรง แบบกลั่นแกล้ง หรือลงโทษด้วยความโรธของครูไม่ได้ ซึ่งเมื่อนักเรียนทำความผิด จะมีบทลงโทษนักเรียน อยู่ 4 สถาน คือ กล่าวตักเตือน  ทำทัณฑ์บน  ตัดคะแนนความประพฤติ และทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนนิสัย แต่ครูต้องรู้เจตนาในการลงโทษว่ามีเจตนาที่จะแก้นิสัยและความประพฤติไม่ดีของนักเรียนให้รู้สำนึกในความผิด และกลับประพฤติตนในทางที่ดี
            ประเด็นที่ 2 เกี่ยวกับ การลา ตัวอย่างเช่น เมื่อเราไปทดลองสอนในโรงเรียนนั้น จะต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับประเภทของการลา การลาแต่ละประเภท ทำกันอย่างไร เช่น เมื่อป่วยขึ้นมา สามารถ ลาป่วยได้ แต่ต้องนำใบรับรองแพทย์มาในวันที่มาปฏิบัติหน้าที่

7. ให้นักศึกษาสะท้อนความคิดการใช้ เว็บบล็อก (weblog) ในการนำมาใช้จัดการเรียนการสอนวิชานี้   พอสังเขป

ตอบ        การจัดการเรียนการสอนในวิชา กฎหมายการศึกษา โดยการใช้เว็บบล็อก เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ดี เพราะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ นักศึกษาสามารถนำการเรียนโดยใช้ เว็บบล็อกไปต่อยอด หรือนำไปจัดการเรียนการสอนกับเด็กได้  รวมทั้งได้เนื้อหาความรู้ของกฎหมายการศึกษา  การจัดการเรียนการสอนแบบนี้ นักศึกษาสามารถเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อกได้ตลอดเวลา ได้ทุกที่  ถ้ามีสัญญาณอินเตอร์เน็ต หรือถ้าไม่มีสัญญาณนักศึกษาก็สามารถโหลดเก็บไว้ แล้วมาเปิดอ่านได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น