วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน 5

แบบฝึกหัดทบทวน(บทที่ 3)

1.นักศึกษาอธิบายคำนิยามต่อไปนี้  ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
     ก.  การศึกษา
ตอบ  "การศึกษา"  หมายความว่า  กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์ จรรโลง ความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียน และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

   ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตอบ  "การศึกษาขั้นพื้นฐาน"  หมายความว่า  การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา

   ค. การศึกษาตลอดชีวิต
ตอบ  "การศึกษาตลอดชีวิต"  หมายความว่า การศึกษาที่สามมารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย

   ง. มาตรฐานการศึกษา
ตอบ  "มาตรฐานการศึกษา"  หมายความว่า  ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียง สำหรับส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมิน และการประกันคุณภาพทางการศึกษา

   จ. การประกันคุณภาพภายใน
ตอบ  "การประกันคุณภาพภายใน" หมายความว่า การประเมินผลและการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น

  ช. การประกันคุณภาพภายนอก
ตอบ "การประกันคุณภาพภายนอก" หมายความว่า การประเมินและติดตาม ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายนอก โดยสำนักรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรองรับ เพื่อเป็นการประกันคุณภาพ และให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา

   ซ. ผู้สอน
ตอบ "ผู้สอน" หมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ

  ฌ. ครู
ตอบ "ครู" หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพ ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน

   ญ. คณาจารย์
ตอบ "คณาจารย์" หมายความว่า บุคลากร ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและระดับปริญญาของรัฐและเอกชน

   ฐ. ผู้บริหารสถานศึกษา
ตอบ "ผู้บริหารสถานศึกษา" หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่ทำหน้าที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งของรัฐและเอกชน

   ฒ. ผู้บริหารการศึกษา
ตอบ "ผู้บริหารการศึกษา" หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป

   ณ. บุคลากรทางการศึกษา
ตอบ "บุคลากรทางการศึกษา" หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษา ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ

2.ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษานี้อย่างไรบ้าง ให้อธิบาย
ตอบ "ความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา"  การจัดการศึกษาต่องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรม ในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
         "หลักการจัดการศึกษา" มี 3 ประการ คือ
     (1) เป็นการศึกษาตลอกชีวิตสำหรับประชาชน
     (2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
     (3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

3.หลักการจัดการศึกษาประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  "หลักการจัดการศึกษา" มี 3 ประการ คือ
     (1) เป็นการศึกษาตลอกชีวิตสำหรับประชาชน
     (2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
     (3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

4.การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กฎหมายกำหนดมีอะไรบ้าง
ตอบ "การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา " ยึดหลักดังนี้
     (1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
     (2) มีการกระจายอำนาจ ไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
     (3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
     (4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
     (5) ระดมทรัพยากร จากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
     (6) การมีส่วนร่วม ของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น

5.สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา ที่กำหนดไว้ในกฎหมายมีอะไรบ้าง
ตอบ "สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา" มีสาระสำคัญดังนี้
     (1) การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และไม่เก็บค่าใช้จ่าย 
     (2) บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีความสามารถพิเศษ มีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
     (3) พ่อแม่ ผู้ปกครอง บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์เอกชน สถานประกอบการ สถาบันศาสนาและสถาบันอื่นๆ มีสิทธิจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่บุตรหลานของตนหรือบุคคลทั่วไป ผู้จัดการศึกษาดังกล่าว มีสิทธิได้รับการสนับสนุนและเงินอุดหนุนจากรัฐ รวมทั้งได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษี ตามที่กฎหมายกำหนด

6.ระบบการศึกษามีกี่รูปแบบแต่ละรูปแบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ "ระบบการศึกษา" มี 3 รูปแบบ ดังนี้
     (1) การศึกษาในระบบ  มีการกำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาการศึกษา การวัดประเมินผล 
     (2) การศึกษานอกระบบ มีการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลา การวัดผลประเมินผล
     (3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษา ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง ตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส  โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม

7.การจัดการศึกษาในระบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ "การจัดการศึกษาในระบบ" มี 2 ระดับ คือ
     (1) การศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปี ก่อนระดับอุดมศึกษา
     (2) การศึกษาระดับอุดมศึกษา แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา

8.สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลเป็นอย่างไร
ตอบ "สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล" เป็นโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา ที่กฎหมายยอมรับให้สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ภายในขอบวัตถุประสงค์  มีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติกำหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายอื่น ซึ่งกำหนดสิทธิและหน้าที่ของสถานศึกษาไว้เป็นการเฉพาะ

9.แนวทางการจัดการศึกษามีหลักยึดอะไรบ้าง
ตอบ "แนวทางการจัดการศึกษา" มีหลักยึดว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ให้ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด และต้องให้แต่ละคนสามารถพัฒนาตามความถนัด ความสนใจและเต็มศักยภาพของเขา

10.ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่าที่กำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ทั้งรัฐและเอกชนจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
ตอบ  เห็นด้วย  เพราะว่า คนที่มีใบประกอบวิชาชีพนั้นมีจิตวิญญาณความเป็นครู มากว่า ซึ่งได้ผ่านการศึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยาการสอน  ปลูกผังเกี่ยวกับวิชาชีพมากกว่า ถ้าไม่มีใบประกอบวิชาชีพนั้น จะทำให้เห็นว่าใครจะมีก็ได้ที่เข้ามาเป็นครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ซึ่งเข้ามาเป็นกันง่ายๆ แต่ไม่มีความลึกซึ้งทางวิชาชีพ

11.มีวิธีการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นของท่านได้อย่าไร
ตอบ มีวิธีการระดมโดยการบริจาคเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษา  โดยมีการก่อตั้งมูลนิธิของโรงเรียน แต่ละปีจะมีการบริจาคเงินเข้ามาสมทบ และมีการจัดทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อนำเงินมาพัฒนาการศึกษา

12.การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีวิธีการพัฒนาได้อย่างไร
ตอบ มีวิธีการผลิตสื่อขึ้นมาใหม่ หรือปรุงปรุงสื่อเดิมให้มีประสิทธิมากยิ่งขึ้น

อนุทิน 4

แบบฝึกหัดทบทวน(บทที่ 2)

1.ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ "คณะราษฎร์" เป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก  และมีเหตุผลและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาว่า "บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนำประเทศของตน ในอันที่ก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาสให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบ ในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า"
         ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา  คือ  หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม  มาตรา 14 ภายในบังคับแห่งกฎหมาย  บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายและเคหสถาน  ทรัพย์สิน  การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม  การประชุมโดยเปิดเผย  การตั้งสมาคม การอาชีพ (ราชกิจจานุเบกษา,2475,536)

2.แนวนโนบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ  "หมวด 5 แนวนโนบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
            มาตรา 62  การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชาวชนคนไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์  มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ  และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
            มาตรา 63  รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม  การจัดระบบการศึกษาอบรม  เป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวง  ย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ  การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา  รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
            มาตรา 64  การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน  รัฐพึงช่วยให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร  
            มาตรา 65  รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (ราชกิจจานุเบกษา, 2592,25-27)

3.เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511  พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ  เหมือนกัน คือ  1.รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม  การจัดระบบการศึกษาอบรม  เป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวง  ย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ  การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา  รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ 
    2.การศึกษาอบรมภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐ  จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน
    3.รัฐพึงสนับสนุนการวิจัย ในศิลปวิทยา และวิทยาศาสตร์

4.ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475 - 2490  ประเด็นที่ 2  รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 - 2517  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ  แตกต่างกัน  เพราะว่าประเด็นที่ 1 จะกล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไม่มากนัก  ได้กำหนดสิทธิและเสรีภาพ การพูด การเขียน การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ 
         ส่วนประเด็นที่ 2 จะกล่าวถึง 1) สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ในการศึกษาอบรม สถานศึกษาของรัฐและเทศบาลให้ความเสมอภาคในการศึกษาอบรม  ตามความสามารถของบุคคล 
2)หน้าที่ของชนชาวไทย  บุคคลย่อมได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษาหรือการศึกษา
ขั้นมูลฐาน ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
3)กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐ  จัดการศึกษาเพื่อพลเมืองดี  มีร่างกายแข็งแรง  อานามัยสมบูรณื  มีความรู้ประกอบอาชีพและมีจิตใจเป็นประชาธิปไตย
4)ส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมการจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา ดำเนินได้ตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด
5)การจัดอบรมชั้นประถมศึกษา ของรัฐและเทศบาล โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน

5.ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2421 - 2534 ประเด็นที่ 4  รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540 - 2550  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ  เหมือนกัน ตรงที่ว่า บุคคลมีสิทธิและเสรีภาพเสมอกันในการศึกษา  โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย  และส่งเสริม สนับสนุนให้เยาวชนเป็นผู้มีความสมบูรณ์ การเรียนรู้ รู้รักสามัคคี มีจิตสำนึก เผยแพร่ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ
         ส่วนที่แตกต่างกันคือ ในประเด็นที่ 4มีการปรับปรุงเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา มีการจัดการศึกษาให้กับบุคคลมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างมีคุณภาพ ในการจัดการศึกษานั้นจะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาด้วย

6.เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง  อธิบาย
ตอบ เพราะว่าต้องการให้ประชาชนได้รับการศึกษากันทุกคน  ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีฐานะยากจนหรือร่ำรวย เมื่อได้รับการศึกษาหรือมีความรู้แล้วก็สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้

7.เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด "บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ" จงอธิบาย  หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
ตอบ เพราะว่ารัฐต้องการให้ประชาชนได้รับการศึกษากันอย่างทั่วถึง  เสมอภาคและเท่าเทียมกันทุกคน หากไม่ปฏิบัติก็จะทำให้บุคคลนั้นขาดการศึกษาและขาดการช่วยเหลือในด้านต่างๆ ที่รัฐกำหนดไว้  ทำให้ขาดบุคคลที่มีความรู้มาช่วยกันพัฒนาประเทศ

8.การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  หากเราพิจารณารัฐธรรมนูญฯมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม  และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร  จงอธิบาย
ตอบ รัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2540 และพุทธศักราช  2550  ถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้น ก็จะเป็นเรื่องดีในส่วนของการช่วยเหลือในด้านต่างๆ ทั้ง งบประมาณ  อุปกรณ์ในการจัดการเรียนรู้เป็นต้น  ทำให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง

9.เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน  ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งชายและหญิง  พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว  และความเข้มแข็งของชุมชน  สังเคราะห์ผู้ยากไร้  ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส  จงอธิบาย
ตอบ เพราะว่ารัฐต้องการให้ทุกคนมีการศึกษาทั้งเด็ก เยาวชน ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส  อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชาย

10.ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน  มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง  จงอธิบาย
ตอบ บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี  มีการพัฒนาศักยภาพในวิชาชีพครู และบุคลากรทางการศึกษาให้สูงขึ้น  ได้จัดให้มีการจักกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน 3

แบบฝึกหัดที่ 1

1.ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมาย  หากไม่มีจะเป็นอย่างไร
    ตอบ  มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน  รวมตัวอยู่กันเป็นสังคม  การที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมให้มีความสงบสุขกันทุกคนนั้น  จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ ข้อตกลง หรือกฎหมาย ยึดถือประพฤติปฏิบัติกัน  เมื่อมีกฎหมายแล้วสังคมนั้นย่อมมีความสุขตามมา  แตกถ้าหากสังคมนั้นไม่มีกำหมาย การอยู่ร่วมกันของเพื่อนมนุษย์  จะเกิดความขัดแย้ง  มีการทะเลาะวิวาท  ทำร้ายร่างกัน  มีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน  เมื่อเกิดเหตุการณ์บ่อยขึ้นสังคมของมนุษย์ก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้

2.

3.ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
      ก  ความหมาย
ตอบ  กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฏฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ

   ข ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
ตอบ ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย สรุปได้ 4 ประการคือ
    1.เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐานธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด อาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้
   2.มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถงการณ์ อาทิ ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ เป็นต้น
   3.ใช้บังคับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติ สังคมจะสงบสุขได้
   4.มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย โดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้นๆ กำหนด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม ฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้ และสภาพบังคับในทางอาญา

   ค  ที่มาของกฎหมาย
ตอบ  ที่มาของกำหมายของประเทศไทย สรุปได้ 5 ลักษณะ คือ
   1.บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร เช่น พระราชบัญญัติ
   2.จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน  หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
   3.ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆ ศาสนา   สอนให้เป็นคนดี
   4.คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา
   5.ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นว่าสมควรจะออกกฎหมายอย่างนั้น หรือไม่

   ง ประเภทของกฎหมาย
ตอบ  การแบ่งประเภทของกฎหมาย ที่ใช้ในประเทศไทย ดังนี้
      กฎหมายภายใน มีดังนี้
   1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
      1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก
โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ เป็นต้น
      1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป เป็นต้น
   2.กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
      2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 วรรคแรก บัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จาคุก กักขัง ปรับ เป็นต้น

4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
ตอบ  ประเทศแต่ละประเทศ มีประชานอาศัยอยู่ร่วมกันจำนวนมากมายหรืออยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม  จะต้องมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เกิดการขัดแย้งกัน ดังนั้นจำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิบางอย่าง และให้มีเสรีภาพเท่าที่จำเป็น เพื่อที่จะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่เกิดความขัดแย้ง เข่นฆ่ากัน 

5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ "สภาพบังคับในทางกฎหมาย" หมายถึง การดำเนินการลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และรวมไปถึงการบังคับให้กระทำการหรืองดเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดและส่งมอบทรัพย์สินด้วย

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ "สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง" มีความแตกต่างกันเพราะว่าสภาพบังคับกฎหมายในอาญามีจุดมุ่งหมายเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดให้เข็ดหลาบไม่กล้ากระทำความผิดอีก (โดยมีโทษ 5 สถาน คือประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน) แต่สภาพบังคับตามกฎหมายแพ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเยียวยาต่อความเสียหาย และบังคับให้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ให้ไว้ต่อกัน

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ "ระบบกฎหมาย" หลักๆ มีอยู่ 2 ระบบใหญ่ด้วยกัน คือ
           1. ระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกาเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสาคัญกว่าอย่างอื่น คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสาคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ ประเทศยุโรป เช่น อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศตะวันออก เช่น ไทย ญี่ปุ่น
           2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ

8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย โดยทั่ว ๆไปดังนี้
    ก.กฎหมายภายใน มีดังนี้
      1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก
โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมายต่าง ๆ พระราชกาหนด พระราชกฤษฎีกา ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา หรือ ออกโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อาศัยอานาจจากพระราชบัญญัติ เช่น เทศบัญญัติ
                1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป
      2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 วรรคแรก บัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา 
               2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ กันไว้ สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
      3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
               3.1 กฎหมายสารบัญญัติ แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก กล่าวถึงการกระทำที่กฎหมายกาหนดเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด หรือเป็นสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กฎหมายประสงค์จะควบคุมหรือคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนซึ่งจะก่อให้เกิดผล มีสภาพบังคับที่รัฐหรือผู้มีอำนาจบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นผู้กำหนด การกระทำผิด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเข้าลักษณะองค์ประกอบความผิดตามบทกฎหมาย ก
              3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ เช่น  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 
       4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
              4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน รัฐเป็นผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม เป็นเครื่องมือในการควบคุมสังคม คือ กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดระเบียบแบบแผนการใช้อำนาจอธิปไตย
              4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติบางฉบับ
     ข. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
       1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน ในฐานะที่รัฐเป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งมีเกณฑ์กำหนดกล่าวคือ 1) ประชาชนรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน ปึกแผ่น เรียกว่า พลเมือง 2) ต้องมีดินแดนหรืออาณาเขตที่แน่นอน 3) มีการปกครองเป็นระเบียบแบบแผน 4) เป็นเอกราช 5) มีอธิปไตย เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา
       2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย เป็นการบังคับความสัมพันธ์ของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกับบุคคลที่อยู่ในรัฐอื่น ๆ

9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ  "ศักดิ์ของกฎหมาย" คือ  การจัดลาดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอานาจขององค์กรที่ใช้อานาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน  มีการแบ่งเป็น
     1. การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สาคัญ เป็นการกาหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน
     2. การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจาเป็นของสังคม
     3. ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น

10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศ
เป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ รัฐบาลกระทำผิด  เพราะว่าประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมกันอย่างสงบ แต่เมื่อมีการประชุมกันอย่างสงบแล้ว รัฐบาลมีการขัดขวาง ทำร้ายร่างกายประชาชน


อนุทิน 2

"พระไม่ดี กับ สีกาเลว"

     
       พระก็คือคน  สีกาก็คือคน มีอารมณ์รักโลภโกรธหลง ได้เช่นกัน และจะเห็นว่าเกิดเหตุคดีสำคัญๆ  ทำให้ศาสนาเรามัวหมอง  สำหรับเรื่องพระภิกษุที่ดีมีมากมาย น่าเลื่อมใสศรัทธา น่ากราบไหว้บูชา แต่ก็มีบางคนเข้ามาในวงการสงฆ์ทำให้เกิดความเสื่อมเสีย ปีๆหนึ่งมีพระภิกษุสงฆ์จำนวนมากแหกศีลห้า บางข้อก็เล็กน้อย มึนเมา โกหก ตบยุง ศีลขาดต่อศีลกันได้ จึงไม่แปลกอะไร ถ้าเราพบเห็นพระขับรถยนต์ ขี่จักรยานยนต์ เปิดเพลง เต้น ร้องเพลง ดูซีดีลามก เดินห้างช้อปปิ้ง และไปไหนมาไหนกับสุภาพสตรียามวิกาล

วิธีการแก้ไขปัญหา
         - คนที่จะมาบวชเป็นพระ ต้องมีความพร้อมและควรศึกษาข้อปฏิบัติของพระสงฆ์หรือตัดกิเกสให้ได้จริงๆ
         -  การแต่งกายของผู้หญิงที่เข้าวัด ควรมีความเหมาะสม ถูกกาลเทศะ ให้เกียรติสถานที่
         -  ควรมีข้อกำหนดในการแต่งกายเข้าวัดให้มากขึ้น
         -  ช่วยกันเป็นหูเป็นตา เพื่อไม่ให้ผู้อื่นแอบอ้างใช้ผ้าเหลืองไปในทางที่ไม่ควร

ผลเสีย
         -  ทำให้วงการพระสงฆ์เกิดความเสื่อมเสีย
         -  ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อถือในตัวพระสงฆ์
         -  เมื่อเกิดข่าวไม่ดีที่วัดใด ส่งผลให้คนเข้าไปทำบุญที่วัดนั้นน้อยลง


วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน 1

ประวัติส่วนตัว
  ชื่อ :  นางสาวยุวลักษณ์   เพชรไข่
   ชื่อเล่น : เอ
   ส่วนสูง :   171  เซนติเมตร
   น้ำหนัก :  65 กิโลกรัม
   ที่อยู่ : 137  ม. 13  ต.ควนมะพร้าว  อ.เมือง จ.พัทลุง 93000
   งานอดิเรก : ดูการ์ตูน  และอ่านหนังสือ
    สัตว์เลี้ยงที่ชอบ : สุนัข
   E-mail : yuwaluk084@gmail.com

ประวัติการศึกษา 
  ระดับประถมศึกษา  :   โรงเรียนวัดบ้านสวน
   ระดับมัธยมศึกษา    :   โรงเรียนพัทลุงพิทยาคม
   ปัจจุบัน  :  กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4   รหัสนักศึกษา 5411103084  หลักสูตรคณิตศาสตร์   
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ปรัชญาชีวิต
   "ลิขิตฟ้า"  หรือจะสู้  "มานะตน"