วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน 3

แบบฝึกหัดที่ 1

1.ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมาย  หากไม่มีจะเป็นอย่างไร
    ตอบ  มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน  รวมตัวอยู่กันเป็นสังคม  การที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมให้มีความสงบสุขกันทุกคนนั้น  จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ ข้อตกลง หรือกฎหมาย ยึดถือประพฤติปฏิบัติกัน  เมื่อมีกฎหมายแล้วสังคมนั้นย่อมมีความสุขตามมา  แตกถ้าหากสังคมนั้นไม่มีกำหมาย การอยู่ร่วมกันของเพื่อนมนุษย์  จะเกิดความขัดแย้ง  มีการทะเลาะวิวาท  ทำร้ายร่างกัน  มีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน  เมื่อเกิดเหตุการณ์บ่อยขึ้นสังคมของมนุษย์ก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้

2.

3.ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
      ก  ความหมาย
ตอบ  กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฏฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ

   ข ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
ตอบ ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย สรุปได้ 4 ประการคือ
    1.เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐานธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด อาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้
   2.มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถงการณ์ อาทิ ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ เป็นต้น
   3.ใช้บังคับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติ สังคมจะสงบสุขได้
   4.มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย โดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้นๆ กำหนด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม ฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้ และสภาพบังคับในทางอาญา

   ค  ที่มาของกฎหมาย
ตอบ  ที่มาของกำหมายของประเทศไทย สรุปได้ 5 ลักษณะ คือ
   1.บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร เช่น พระราชบัญญัติ
   2.จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน  หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
   3.ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆ ศาสนา   สอนให้เป็นคนดี
   4.คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา
   5.ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นว่าสมควรจะออกกฎหมายอย่างนั้น หรือไม่

   ง ประเภทของกฎหมาย
ตอบ  การแบ่งประเภทของกฎหมาย ที่ใช้ในประเทศไทย ดังนี้
      กฎหมายภายใน มีดังนี้
   1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
      1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก
โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ เป็นต้น
      1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป เป็นต้น
   2.กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
      2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 วรรคแรก บัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จาคุก กักขัง ปรับ เป็นต้น

4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
ตอบ  ประเทศแต่ละประเทศ มีประชานอาศัยอยู่ร่วมกันจำนวนมากมายหรืออยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม  จะต้องมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เกิดการขัดแย้งกัน ดังนั้นจำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิบางอย่าง และให้มีเสรีภาพเท่าที่จำเป็น เพื่อที่จะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่เกิดความขัดแย้ง เข่นฆ่ากัน 

5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ "สภาพบังคับในทางกฎหมาย" หมายถึง การดำเนินการลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และรวมไปถึงการบังคับให้กระทำการหรืองดเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดและส่งมอบทรัพย์สินด้วย

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ "สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง" มีความแตกต่างกันเพราะว่าสภาพบังคับกฎหมายในอาญามีจุดมุ่งหมายเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดให้เข็ดหลาบไม่กล้ากระทำความผิดอีก (โดยมีโทษ 5 สถาน คือประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน) แต่สภาพบังคับตามกฎหมายแพ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเยียวยาต่อความเสียหาย และบังคับให้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ให้ไว้ต่อกัน

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ "ระบบกฎหมาย" หลักๆ มีอยู่ 2 ระบบใหญ่ด้วยกัน คือ
           1. ระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกาเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสาคัญกว่าอย่างอื่น คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสาคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ ประเทศยุโรป เช่น อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศตะวันออก เช่น ไทย ญี่ปุ่น
           2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ

8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย โดยทั่ว ๆไปดังนี้
    ก.กฎหมายภายใน มีดังนี้
      1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก
โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมายต่าง ๆ พระราชกาหนด พระราชกฤษฎีกา ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา หรือ ออกโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อาศัยอานาจจากพระราชบัญญัติ เช่น เทศบัญญัติ
                1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป
      2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 วรรคแรก บัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา 
               2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ กันไว้ สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
      3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
               3.1 กฎหมายสารบัญญัติ แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก กล่าวถึงการกระทำที่กฎหมายกาหนดเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด หรือเป็นสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กฎหมายประสงค์จะควบคุมหรือคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนซึ่งจะก่อให้เกิดผล มีสภาพบังคับที่รัฐหรือผู้มีอำนาจบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นผู้กำหนด การกระทำผิด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเข้าลักษณะองค์ประกอบความผิดตามบทกฎหมาย ก
              3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ เช่น  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 
       4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
              4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน รัฐเป็นผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม เป็นเครื่องมือในการควบคุมสังคม คือ กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดระเบียบแบบแผนการใช้อำนาจอธิปไตย
              4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติบางฉบับ
     ข. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
       1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน ในฐานะที่รัฐเป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งมีเกณฑ์กำหนดกล่าวคือ 1) ประชาชนรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน ปึกแผ่น เรียกว่า พลเมือง 2) ต้องมีดินแดนหรืออาณาเขตที่แน่นอน 3) มีการปกครองเป็นระเบียบแบบแผน 4) เป็นเอกราช 5) มีอธิปไตย เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา
       2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย เป็นการบังคับความสัมพันธ์ของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกับบุคคลที่อยู่ในรัฐอื่น ๆ

9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ  "ศักดิ์ของกฎหมาย" คือ  การจัดลาดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอานาจขององค์กรที่ใช้อานาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน  มีการแบ่งเป็น
     1. การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สาคัญ เป็นการกาหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน
     2. การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจาเป็นของสังคม
     3. ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น

10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศ
เป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ รัฐบาลกระทำผิด  เพราะว่าประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมกันอย่างสงบ แต่เมื่อมีการประชุมกันอย่างสงบแล้ว รัฐบาลมีการขัดขวาง ทำร้ายร่างกายประชาชน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น